เมนู

บทว่า สุกกะ อธิบายว่า สุกกะมี 10 อย่าง คือ สุกกะสีเขียว 1
สุกกะสีเหลือง สุกกะสีแดง 1 สุกะสีขาว 1 สุกกะสีเหมือนเปรียง 1
สุกกะสีเหมือนน้ำท่า 1 สุกกะสีเหมือนน้ำมัน 1 สุกกะสีเหมือนนมสด 1
สุกกะสีเหมือนนมส้ม 1 สุกกะสีเหมือนเนยใส 1
การกระทำอสุจิให้เคลื่อนจากฐานตรัสเรียกว่า การปล่อย ชื่อว่า
การปล่อย.
บทว่า เว้นไว้แต่ฝัน คือว่า ยกเว้นความฝัน.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ได้ ชักเข้าหาอาบัติเดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่คณะมาก
รูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆา-
ทิเสส
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของหมวด
อาบัตินั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


(อุบาย 4)


[304] ภิกษุปล่อยสุกกะในรูปภายใน 1 ปล่อยสุกกะในรูปภาย
นอก 1 ปล่อยสุกกะในรูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก 1 ปล่อยเมื่อ
ยังสะเอวให้ไหวในอากาศ 1

(กาล 5)


ปล่อยเมื่อเวลาเกิดความกำหนัด 1 ปล่อยเมื่อเวลาปวดอุจจาระ
ปล่อยเมื่อเวลาปวดปัสสาวะ 1 ปล่อยเมื่อเวลาต้องลม 1 ปล่อยเมื่อเวลา
ถูกบุ้งขน 1

(ความประสงค์ 10)


ปล่อยเพื่อประสงค์ความหายโรค 1 ปล่อยเพื่อประสงค์ความสุข 1
ปล่อยเพื่อประสงค์เป็นยา 1 ปล่อยเพื่อประสงค์ให้ทาน 1 ปล่อยเพื่อ
ประสงค์เป็นบุญ 1 ปล่อยเพื่อประสงค์บูชายัญ 1 ปล่อยเพื่อประสงค์ไป
สวรรค์ 1 ปล่อยเพื่อประสงค์เป็นพืช 1 ปล่อยเพื่อประสงค์จะทดลอง 1
ปล่อยเพื่อประสงค์ความสนุก 1

(วัตถุประสงค์ 10)


ปล่อยสุกกะสีเขียว 1 ปล่อยสุกกะสีเหลือง 1 ปล่อยสุกกะสีแดง 1
ปล่อยสุกกะสีขาว 1 ปล่อยสุกกะสีเหมือนเปรียง 1 ปล่อยสุกะสีเหมือน
น้ำท่า 1 ปล่อยสุกกะสีเหมือนนมสด 1 ปล่อยสุกกะสีเหมือนนมส้ม
ปล่อยสุกกะสีเหมือนเนยใส 1. ปล่อยสุกกะสีเหมือน้ำมัน 1
[305] บทว่า รูปภายใน ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครอง เป็น
ภายใน.
บทว่า รูปภายนอก ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครอง หรือรูปที่ไม่มี
วิญญาณครอง เป็นภายนอก.
บทว่า รูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก ได้แก่ รูปทั้งสองนั้น.
บทว่า เมื่อยังสะเอวให้ไหวในอากาศ คือ เมื่อพยายามในอากาศ
องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้.
บทว่า เมื่อเวลาเกิดความกำหนัด คือ เมื่อถูกราคะบีบคั้นแล้ว
องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้.
บทว่า เมื่อเวลาปวดอุจจาระ คือ เมื่อปวดอุจจาระ องค์กำเนิด
เป็นอวัยวะใช้การได้.